วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

                              บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 

               วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
                                       อาจารย์ผู้สอน  ว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
                                                     เวลาเรียน  11:30-14:00 , 14:10-15:50  น.



วันนี้อาจารย์สอนเรื่องหลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

 ความสำคัญ
ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะศิลปะ ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
          -ประสบการณ์ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ (สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว)
          -ประสบการณ์ด้านวัสดุ-อุปกรณ์ (เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ)
          -ประสบการณ์ทางด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส
     ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรง ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เผชิญ กับความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับคน  สัตว์  พืช  สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ
บทบาทของครูศิลปะ
ครู คือบุคคลสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ
         - เป็นผู้สร้างบรรยากาศ (ในการประดิษฐ์  คิดค้น และผลิตผลงาน)
         - เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน (พูดคุย ชักจูง เร้าความสนใจ ให้กำลังใจ)
        -  เป็นผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์งาน (ให้ความรัก ความอบอุ่น  เป็นกันเอง และคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ)
        - เป็นต้นแบบที่ดี  (สาธิตวิธีการที่ถูกต้อง  ไม่เผด็จการ ส่งเสริมการกล้าคิด กล้าตัดสินใจ)
        - เป็นผู้อำนวยความสะดวก   (จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์  รูปแบบศิลปะหลากหลาย)
ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
     - หลีกเลี่ยงการให้แบบ การวาดภาพตามรอยปะ หรือใช้สมุดภาพระบายสี เพราะทำให้เด็กสูญเสียความคิดสร้างสรรค์
     - ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก ให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ   ใช้คำพูดทางบวก เช่น หนูทำได้...ลองทำดูสิ
     - ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความหมายจากภาพ  ให้เด็กพูดคุยอย่างสบายใจ และเข้าใจในผลงานของตนเอง
     - ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์และผู้ช่วยเหลือ
     - ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็ก และมีวิธีการประเมินงานที่เหมาะสม
ขั้นตอนการสอนศิลปะ
       1. เลือกเรื่องที่จะสอน
       2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
       3. เตรียมการก่อนสอน


                จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำกินกรรมในห้องเรียน 














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น